Penfill

Qualitative Research

การวิจัยเชิงคุณภาพ

Asset 1

Qualitative Research
การวิจัยเชิงคุณภาพ

ค้นหาเบื้องลึก สาเหตุ-ปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เสริมประสิทธิภาพธุรกิจด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยพัฒนา-ปรับปรุงโครงการต่างๆของธุรกิจอย่างยั่งยืน สำหรับวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น ทาง Penfill ได้เผยแพร่ไฟล์ PDF เพื่อศึกษาขั้นต้น พอเป็นแนวทางในการทำงานสำหรับผู้สนใจทุกท่านตาม link ด้านล่างนี้


การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อะไร

Qualitative Research การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การศึกษาค้นคว้าหาความจริง รู้ลึก รู้จริงลงรายละเอียด เพื่อให้ได้ข้อมูลองค์ความรู้หลากหลายมิติและครบมุมมอง โดยมุ่งเน้นหาสาเหตุ “ทำไม” (Finding the WHY behind the What) เบื้องลึกเบื้องหลังเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น วิเคราะห์ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ ปรากฏการณ์ สังคม พฤติกรรม สภาพแวดล้อมที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ใช้สำหรับการทำความเข้าใจความคิด วิธีการคิด วิธีการตัดสินใจ ทัศนคติ ความเชื่อ มุมมองความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งนั้น ๆ ประสบการณ์ พฤติกรรม ปฏิกิริยาโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ใช้อธิบายสิ่งที่ไม่ชัด หรือต้องการหาคำตอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก (In-depth Insights) ช่วยระบุปัญหา ทางแก้ปัญหา วิธีการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง ค้นหาแนวทางใหม่ ๆ หรือสร้างนวัตกรรม มิติใหม่

Insight In-depth Benefit of Qualitative Research


วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ

            วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาเชิงลึกและรอบด้าน รวบรวมเก็บข้อมูลได้ทั้งจากแบบปฐมภูมิ (ผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้วยตนเอง First-hand data หรือ Field research/Primary research) และแบบทุติยภูมิ (ศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว Second-hand data หรือ Secondary research) โดยในแต่ละแบบมีวิธีการ ดังนี้


1. การรวบรวมข้อมูลแบบปฐมภูมิ Primary Research

Qualitative Research Field Research Method

7 วิธี Field Research ลงพื้นที่ เก็บข้อมูลด้วยตัวเอง

การเก็บข้อมูลด้วยการลงพื้นที่ด้วยตนเอง จะให้ข้อมูลที่สดใหม่ แสดงข้อมูลตามจริงที่พบเห็น

1. Observation

การสังเกตการณ์ในพื้นที่ สถานการณ์จริง หรือแผงตัวตนเข้าไปในพื้นที่เพื่อให้เห็น รับรู้ รับฟังสิ่งที่ เป็นไปเกิดขึ้นตามบริบทจริง เพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง (First-hand experience) ช่วยตรวจสอบข้อมูล ยืนยันข้อมูลที่รับฟังมาอีกที นอกจากนั้นหากใช้การสังเกตร่วมกับการสัมภาษณ์จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นจริงและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการพูดคุยถามคำถามกับบุคคลแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (1:1) เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและละเอียดครบถ้วน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ In-depth Interview with Empathy and Observation

การสนทนากลุ่ม คือ การพูดคุยสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม หรือถกหารือความคิดเห็นในประเด็นที่ต้องการ โดยผู้เข้าร่วมต่างสามารถแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Focus Group

การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม Participant Observation (ถ้าตามศัพท์วิชาการคือการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา) เป็นวิธีการที่เอาตัวเข้าไปอยู่ในสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมที่ต้องการศึกษา เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต ชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลพฤติกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วน ทำให้เข้าใจวิธีคิด มุมมองอย่างลึกซึ้ง อ่านเพิ่มได้ที่ Ethnographic Research

การเฝ้าติดตาม เป็นเงาตามตัวกลุ่มเป้าหมาย สังเกตพฤติกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ เพื่อให้ได้ข้อมูลพฤติกรรมในทุกกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะให้ได้ข้อมูลรูปแบบพฤติกรรม (Behavior pattern) Touch point, Pain point, ปฏิกิริยา และปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริง อ่านเพิ่มได้ที่ Shadowing

6. User Documentation

การบันทึกประจำวัน เป็นวิธีการที่ทำให้ได้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาหารที่รับประทาน การพักผ่อน การทำงาน งานอดิเรก เป็นต้น

การทดลองกับผู้ใช้จริง เป็นการนำผลงานต้นแบบไปทดลองกับผู้ใช้จริง เพื่อทดสอบระบบ การใช้งาน การทำงาน วิธีการสื่อสาร ความเข้าใจในมุมของคนใช้ ภาพลักษณ์ความสวยงาม จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบ ผลิตภัณฑ์ บริการต่อไปให้ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มได้ที่ User Testing


2. ข้อมูลทุติยภูมิ Secondary Research

Secondary Research Qualitative Research

4 วิธีศึกษา ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

Secondary Research คือ การศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยมีหลากหลายวิธีการ เช่น

1. Literature Review

การค้นหา สรุปย่อ และวิเคราะห์ผลวิจัยจากงานวิจัยที่ผู้อื่นเคยทำไว้ (ทบทวนวรรณกรรม) เพราะทำให้ได้ข้อมูลวิจัยที่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์มาก่อนแล้ว

2. Case Study Research

ค้นคว้าจากกรณีศึกษาที่มีการปฏิบัติทดลองจริง ทั้งแนวความคิด วิธีการปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ ผลลัพธ์และผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

3. Data Record

สืบค้นข้อมูลที่มีอยู่จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ด้วยกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ และตรวจสอบก่อนเลือกใช้ข้อมูล

4. Social Media Analytics

เก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอมาทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์การนำข้อมูลไปใช้ โดยวิธีนี้เป็นการผสมผสานเครื่องมือเก็บข้อมูลจากโลกออนไลน์ และจัดการข้อมูลด้วยวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)


การผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพ

Qualitative and Quantitative Research mix

            ในการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพสามารถผสมสานวิธีการเก็บข้อมูลได้หลากหลาย ทั้งการศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วเข้ากับการลงพื้นที่ สังเกต และสัมภาษณ์ก็ได้ (แล้วแต่กรอบแนวความคิด เป้าหมายของการวิจัย ออกแบบเทคนิควิธีการที่เหมาะสม) มาประกอบการสังเคราะห์ จัดระเบียบ จำแนกข้อมูล ตีความหมายด้วยทักษะการวิเคราะห์เหตุและผล (Logical thinking and Systems thinking) หาความสัมพันธ์ของข้อมูล ค้นหาโอกาสในการพัฒนา การแก้ไขปัญหาในมิติต่าง ๆ และตอบโจทย์วัตถุประสงค์

            นอกจากนี้งานวิจัยเชิงคุณภาพยังสามารถใช้ร่วมกับงานวิจัยเชิงปริมาณได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งงานวิจัยเชิงคุณภาพต่างจากงานวิจัยเชิงปริมาณ ตรงที่งานวิจัยเชิงปริมาณจะเน้นศึกษาทำความเข้าใจวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก (ส่วนใหญ่เป็นตัวเลข) ด้วยหลักการสถิติ ทำให้เห็นถึงภาพรวม แนวโน้ม ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผลประเมิน วัดระดับคะแนนของสิ่งต่าง ๆ เป็นข้อมูลที่แสดงข้อเท็จจริง ข้อสรุปเชิงตัวเลข เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันปริมาณ ความหนักเบา มากน้อย เมื่อรวมข้อมูลเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณเข้าด้วยกันแล้วจะทำให้เห็นภาพที่กว้างและลึก เห็นถึงจุดเริ่มต้นที่มา ความหมาย แบบแผนพฤติกรรม เหตุผลข้อมูลจริงจากสถานที่จริง ระดับคะแนน จำนวนปริมาณ น้ำหนัก ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ใช้งานได้จริง (Actionable Insights) แนะแนวทาง เส้นทางที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ช่วยตัดสินใจเดินหน้าอย่างมีเข็มทิศ ค้นพบทางแก้ปัญหา พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส นำข้อมูลไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้จริง

Sample implementation case qualitative research

แนวทางการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ

  • ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ หรือนวัตกรรมใหม่
  • พัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ
  • เพิ่มความเข้มแข็งให้แบรนด์ด้วยกลยุทธ์
  • สร้าง/ค้นหาจุดขายผลิตภัณฑ์/บริการ หรือแบรนด์ เพื่อพัฒนาการสื่อสารทางการตลาด
  • สร้างกลยุทธ์ แผนพัฒนาธุรกิจ